ufabet

ปัญหาของระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุ เราจะอยู่นิ่งเฉยได้อย่างไร

ปัญหาของระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุ เราจะอยู่นิ่งเฉยได้อย่างไร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน พบกันอีกเช่นเคยกับ “9 ทันโรค” ฉบับพิเศษทันเหตุการณ์ (วัยรุ่นเค้าเรียกสุดจ๊าบ…ฮา) เนื่องในโอกาสที่องค์การสหประชาชาติกำหนดให้ปี 2542 นี้เป็นปี “ผู้สูงอายุสากล” ท่านสมาชิกก็เรียกร้องกันมาว่าไอ้เรื่องท้องไส้มีปัญหาเนี่ยมีม๊ากมาก…ช่วยมาเล่าแจ้งแถลงไขหน่อยเถอะ แล้วเราจะอยู่นิ่งเฉยได้อย่างไร ไม่ปฏิเสธอยู่แล้วถ้าเราว่ากันอย่างกว้างๆ ว่าปัญหาของระบบทางเดินอาหารในคนสูงอายุเนี่ยมันต่างจากคนหนุ่มสาวตรงไหน ก็ขอสาธยายให้ฟังเป็นข้อๆ (อย่างย่อๆ นะ) ดังนี้

  1. โรคบางโรคเป็นปัญหาของผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
  2. ในโรคเดียวกันผู้สูงอายุอาจมีอาการแตกต่างจากลุ่มหนุ่มสาว (ต่างกันลิบลับเลย)
  3. การดำเนินโรคแตกต่างกัน เช่น การกลับเป็นซ้ำแตกต่างกัน
  4. อันนี้แน่นอนเมื่ออ่านข้อ 1 ถึง ข้อ 3 แล้ว การดูแลเป็นพิเศษ และการรักษาที่แตกต่างกันออกไป

ยังไม่งงใช่มั๊ย…ผมขอยกตัวอย่างเลยนะเอาเรื่องที่เจอบ่อยสุดเลยก็ “ปวดท้อง” ไง คนสูงอายุเนี่ยบางคนกระเพาะอาหารทะลุไปแล้วหรือไส้ติ่งแตกไปแล้ว กลับปวดท้องไม่มากเท่าที่ควร ถ้าหมอไม่สงสัยละก็อาจตรวจวินิจฉัยไม่ได้ ในทางกลับกันคนไข้ก็ไม่รู้สึกว่าป่วยมาก จึงมาหาหมอค่อนข้างช้าซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงขั้นรุนแรงได้

ufabet

ยังคงอยู่กับเรื่อง “ปวดท้อง” อีกนั่นแหละ คราวนี้ว่ากันถึงสาเหตุของอาการปวดท้องเฉียบพลัน

(acute abdomen) ในผู้สูงอายุเป็นถุงน้ำดีอักเสบประมาณ 20%, ลำไส้อุดตัน 12% และมะเร็งถึง 4%, และถ้าอายุเกิน 70 ปีละก็ มีรายงานว่ามะเร็ง (ต่างๆ) เป็นสาเหตุถึง 25% ทีเดียว ขณะที่ในวัยหนุ่มสาวนั้นปวดท้องเฉียบพลันจากมะเร็งมีน้อยกว่า 1% เสียอีก สนุกและน่าสนใจแล้วไช่มั๊ยละ…หรือว่างง ! เอางี้ดีกว่าเรามาดูว่าผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาอะไรบ้าง

  1. กลืนลำบาก (Dysphagia)

สาเหตุก็มาจากการบีบตัวของหลอดอาหารอ่อนแอลงไป รวมทั้งเส้นประสาทที่มาหล่อเลี้ยงก็เสื่อมลงตามวัยทำให้บีบตัวผิดปกติ ทำให้กลืนแล้วติดแน่น ๆ หน้าอก บางคนก็บ่นเจ็บ ถ้าแย่หน่อยก็สำลัก หรืออาเจียน พาลให้ไม่อยากกินข้าวปลา น้ำหนักลดไปเลยก็มี อ้อ…เกือบลืม ปัญหานี้ยังพบได้ในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคของสมองชนิดอื่นๆ , โรคของต่อมไทรอยด์ โรคเบาหวานเรื้อรัง

อย่าเพิ่งตกใจไปนะครับ ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นโรคร้ายหรอก เกือบครึ่งหนึ่งเป็นหลอดอาหารตีบ หลอดอาหารอักเสบ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นมะเร็งของหลอดอาหารหรือมะเร็งในช่องทรวงอกมากดทับหลอดอาหาร ดังนั้นจึงควรมาให้แพทย์ตรวจให้แน่นอนว่าเป็นอะไรกันแน่ วิธีที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้นการส่องกล้องตรวจหลอดอาหารและทางเดินอาหาร ส่วนต้น (Esophagogastroduodenoscope) อันนี้เห็นภาพชัดเจนเหมือนมองจากกล้องถ่ายรูปน่ะแหละ แถมมีข้อดีที่เมื่อเห็นความผิดปกติแล้วก็ตัดชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยาได้เลย

  1. ท้องผูก

จริงๆแล้วผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรงก็ไม่ได้มีท้องผูกมากมายอะไร คนที่ท้องผูกมาก ๆ มักเป็นผู้ที่ต้องนอนในโรงพยาบาลนาน ๆ หรือมีโรคภัยที่ทำให้เคลื่อนไหวไม่ค่อยได้ , ไม่มีแรงเบ่งอุจจาระ (เช่น โรคถุงลมโป่งพอง) หรือกินยาบางอย่างเป็น ประจำ เช่น ยาเสริมธาตุเหล็ก ยาลดกรดที่มี aluminium อย่างเดียว

อาการท้องผูกที่เป็นมานานเป็นปีมักจะไม่มีโรคร้ายอะไร ที่ต้องกังวลก็คือ ในกรณีที่เพิ่งเป็นใหม่ๆ หรือเป็นมานานแล้วแต่เปลี่ยนแปลงไป เช่น อุจจาระเล็ดหรือเล็กลง มีเลือดออก อันนี้อย่ารอช้าให้รีบมาตรวจกับผู้เชี่ยวชาญ ดูว่ามีลำไส้อุดตัน หรือมีมะเร็งในลำไส้หรือไม่ หรือเป็นโรคชนิดอื่น ที่เรากลัวมากคงจะเป็นมะเร็ง ในปัจจุบันวิธีที่ดีที่สุดเป็นการส่องกล้องที่ลำไส้ใหญ่ (total Colonoscope) ซึ่งให้ผลการวินิจฉัยดีและคุ้มค่า (Cost-effective) มากกว่าการตรวจ Sigmoidoscope กับการ X-ray ส่วนแป้ง (Barium enema) การตรวจอุจจาระ (Stool occult blood) เป็นวิธีการตรวจค้นหามะเร็งที่ประหยัดแต่ไม่ไวพอ เนื่องจากเป็นการตรวจส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงที่เกิดจากเลือดออกจากมะเร็งน่าเสียดายที่ก้อนมะเร็งไม่ได้มีเลือดออกตลอดเวลา

ufabet

ส่วนท่านที่ท้องผูกมานานแต่สุขภาพโดยทั่วไปดี อาจจะลองปฏิบัติตนก่อนมาพบแพทย์โดยดื่มน้ำมากๆ ทานอาหารจำพวกผักผลไม้ให้มากขึ้น ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา โดยเฉพาะหลังทานอาหารเช้า ซึ่งมักจะมีอาการอยากถ่ายจาก gastrocolic reflex แต่ขอแนะนำว่าอย่างนั่งนานเกิน 15 นาทีนะ นั่งเบ่งแรงๆ นานๆ ไม่เป็นผลดีหรอก ถ้ายังไม่หายท้องผูกก็จะพิจารณายาระบายที่ปลอดภัยหรือการสวนอุจจาระเป็นระยะๆ

  1. เลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้น

ท่านที่มีอาเจียนเป็นเลือดสดๆ หรืออาเจียนเป็นน้ำสีกาแฟ หรือถ่ายอุจจาระดำ แสดงว่าท่านมีเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้นแล้ว สาเหตุนั้นคงไม่แตกต่างจากคนหนุ่มสาวมากนัก ได้แก่ แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ กระเพาะอาหารอักเสบ หลอดอาหารอักเสบ ที่มีเพิ่มขึ้นมาก็คือ โรคมะเร็งซึ่งพบ 2%

ข้อแตกต่างนั้นคือ อัตราตายในผู้สูงอายุจะสูงกว่าคนหนุ่มสาวที่มีเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้นเนื่องจากปัญหาการแข็งตัวของเลือด มีโรคหลายชนิด และการใช้ยาหลายชนิด ดังนั้นจึงไม่ควรรอช้ารีบมาพบแพทย์เสียเถอะ การตรวจที่ดีที่สุดคงเป็นการส่องกล้อง (Endoscope) ซึ่งมีความปลอดภัยเทียบเท่าคนหนุ่มสาว วิธีนี้นอกจากจะวินิจฉัยโรคได้แล้ว ยังสามารถรักษาแผลที่กำลังมีเลือดออกให้หยุดได้

  1. มะเร็งลำไส้ใหญ่

ดังที่เคยกล่าวไว้แล้วในฉบับก่อน โรคนี้จะมีอุบัติการสูงขึ้นเรื่อยๆ หลังจากอายุ 50 ปีขึ้นไป อาการอาจจะไม่มีเลย ที่มีอาการอาจเป็นการที่มีการถ่ายอุจจาระผิดไปจากปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ท้องผูกสลับกับท้องเสีย อุจจาระก้อนเล็กลง มีเลือดออกทางทวารหนัก หรือมีโลหิตจาง อย่ารอช้าให้มาพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่นอน วิธีที่ใช้ก็คือการส่องกล้องของลำไส้ใหญ่ (Total Colonoscope)

หลักการคร่าวๆ ของผู้ที่ควรทำ Colonoscope ได้แก่

  • ก. อายุ 50 ปีขึ้นไป และไม่มีอาการอะไร
  • ข. มีอาการดังที่กล่าว ถ้าไม่พบความผิดปกติให้ตรวจซ้ำทุก 3-5 ปี
  • ค. พวกที่มีติ่งเนื้อ polyps ให้ตรวจ Colonoscope แล้วซ้ำอีก 1 ปีต่อมา ต่อไปทุก 2-5 ปี
  • ง. พวกที่เป็นลำไส้อักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Ulcerative Colitis) มานานกว่า 15 ปี ให้ตรวจทุกปี
  • จ. พวกที่เคยผ่าตัดมะเร็งลำไส้ ให้ตรวจซ้ำที่ 6-12 เดือน , ต่อไปตรวจทุกปีอีก 2 ปี ถ้าไม่พบความผิดปกติ

ให้ตรวจซ้ำทุก 2-5 ปี

แหม!…เนื้อที่ก็มีจำกัดซะด้วย ผมคิดว่ายังมีปัญหาอื่นๆ ที่ท่านสมาชิกอยากรู้อีกตั้งเยอะ ยังไง ๆ ก็เขียนจดหมายมาถามได้นะครับ วันนี้สวัสดีก่อน และพบกันใหม่โอกาสหน้าครับ.


ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ longbeachwarealty.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated